วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

โลโก้ตัวอักษรโค้ง


การสร้างสติ๊กเกอร์สินค้า

HOME PAGE

วิธีทำ

การเลือกตั้งในไทย

การเลือกตั้งในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา
การเลือกตั้งของประเทศไทย เป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ในการปกครองประเทศไทย อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย วุฒิสภาไทย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยา และผู้บริหารท้องถิ่นอื่น ๆ ด้วยการให้ประชาชนออกเสียงเลือกบุคคลที่เห็นสมควร
ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปมาแล้ว 28 ครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา โดยครั้งล่าสุดคือ[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562|การเลือกตั้งในปี พ.ศ.100

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นภายใต้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป (universal suffrage) ตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อย่างไรก็ตาม มีข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอยู่บางประการ
  • มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือแปลงสัญชาติเป็นไทยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ต้องไม่เป็นพระสงฆ์ สามเณร นักพรตหรือนักบวช, ต้องไม่อยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง, ต้องไม่ถูกคุมขังด้วยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย, ต้องไม่เป็นคนสติฟั่นเฟือน[1]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

จำนวนเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด (สำหรับการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2557) มีจำนวนเขตเลือกตั้งดังต่อไปนี้ (ข้อมูล ณ สิ้นปี พ.ศ. 2556) [2] [3]

ระบบบัญชีรายชื่อ[แก้]

ในระบบบัญชีรายชื่อ จะมีการคัดเลือกด้วยขั้นตอนดังนี้นะบ๋อม[4]
ให้แต่ละพรรค ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครจำนวนไม่เกิน 125 คน
    1. บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม และต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนที่เหมาะสมและความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
    2. รายชื่อในบัญชีต้องไม่ซ้ำกับบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองอื่นจัดทำขึ้น และไม่ซ้ำกับรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
    3. จัดทำรายชื่อเรียงตามลำดับหมายเลข (จาก 1 ลงไป)
  1. หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง ให้นับคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อของทุกพรรคการเมืองรวมกันทั้งประเทศ แล้วหารด้วย 125 จะได้คะแนนเฉลี่ยต่อผู้แทน 1 คน
  2. นำคะแนนของแต่ละพรรคการเมือง หารด้วยคะแนนเฉลี่ยที่คำนวณไว้ จะได้จำนวนผู้แทนระบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น
    1. เศษทศนิยม ให้ปัดทิ้งทั้งหมด แต่ให้เก็บข้อมูลเศษทศนิยมของแต่ละพรรคไว้ (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ปัดทิ้งเหลือ 52)
    2. รวมจำนวนผู้แทนของทุกพรรค หากยังได้ไม่ครบ 125 ให้กลับไปดูที่เศษทศนิยมของแต่ละพรรค พรรคใดที่มีเศษเหลือมากที่สุด ให้เพิ่มจำนวนผู้แทนจากพรรคนั้น 1 คน หากยังไม่ครบ ให้เพิ่มผู้แทนจากพรรคที่มีเศษเหลือมากเป็นอันดับสองขึ้นอีก 1 คน ทำเช่นนี้ตามลำดับจนกว่าจะได้ครบ 125 คน (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ตอนแรกได้ 52 เศษ 0.7 แต่ถ้าจำนวนผู้แทนยังไม่ครบ และไม่มีพรรคใดมีเศษมากกว่า 0.7 พรรค ก จะได้เพิ่มเป็น 53 คน)
  3. เมื่อได้จำนวนผู้แทนในระบบนี้ที่ลงตัวแล้ว ผู้สมัครของพรรคนั้น จากอันดับหนึ่ง ไปจนถึงอันดับเดียวกับจำนวนผู้แทนของพรรคนั้น จะได้เป็นผู้แทนราษฎร (เช่น พรรค ก ได้ 53 คน ผู้ที่มีรายชื่อตั้งแต่อันดับ 1 ถึง 53 จะได้เป็นผู้แทน)

ระบบแบ่งเขต[แก้]

เกณฑ์การแบ่งเขตเลือกตั้ง 375 เขตนั้น ตามรัฐธรรมนูญ ได้ประกาศให้มีหลักเกณฑ์ในการแบ่ง ดังต่อไปนี้[5]
  1. นำจำนวนราษฎรทั้งประเทศ จากทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีก่อนการเลือกตั้ง หารด้วยจำนวนผู้แทนในระบบเขต (คือ 375) จะได้อัตราส่วนของราษฎรต่อผู้แทน 1 คน
  2. นำจำนวนราษฎรในแต่ละจังหวัด หารด้วยอัตราส่วนที่คำนวณไว้ จะได้จำนวนเขตเลือกตั้งที่มีในจังหวัด
    1. จังหวัดที่ผลหารต่ำกว่า 1 เขต (เช่น 0.86 เขต) ให้ปัดขึ้นเป็น 1 เขต (ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่มีจังหวัดใดเข้าข่ายกรณีนี้)
    2. จังหวัดที่ผลหารมากกว่า 1 และมีเศษทศนิยม ให้ปัดเศษทิ้งทั้งหมด แต่ให้เก็บข้อมูลของเศษทศนิยมไว้ (เช่น 4.93 ปัดทิ้งเหลือ 4)
    3. รวมจำนวนผู้แทนของทั้ง 77 จังหวัด หากยังไม่ครบ 375 เขต ให้เพิ่มจำนวนเขตในจังหวัดที่มีเศษทศนิยมเหลือมากที่สุดขึ้นไป 1 เขต หากยังไม่ครบอีก ให้เพิ่มจำนวนเขตในจังหวัดที่มีเศษทศนิยมเหลือเป็นอันดับสองขึ้นไปอีก 1 เขต ทำเช่นนี้ไปตามลำดับ จนกว่าจะได้จำนวนครบ 375
  3. จังหวัดใดมีจำนวนเขตมากกว่า 1 เขต จะต้องแบ่งเขตโดยให้พื้นที่ของแต่ละเขตติดต่อกัน และแต่ละเขตต้องมีจำนวนราษฎรที่ใกล้เคียงกันด้วย (หลังจากการเลือกตั้ง ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงที่สุดในแต่ละเขต จะได้เป็นผู้แทน)

การเลือกตั้ง[แก้]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ครั้งที่ [6]วันที่วิธีการเลือกตั้งจำนวน
ผู้สมัคร
จำนวน
ส.ส.
ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง
ผู้มาใช้สิทธิ
เลือกตั้ง
ร้อยละจังหวัดที่มีผู้ใช้
สิทธิมากที่สุด
ร้อยละจังหวัดที่มีผู้ใช้
สิทธิน้อยที่สุด
ร้อยละหมายเหตุ
115 พฤศจิกายนพ.ศ. 2476ทางอ้อม-784,278,2311,773,53241.45เพชรบุรี78.82
27 พฤศจิกายนพ.ศ. 2480แบ่งเขต-916,123,2392,462,53540.22นครนายก80.50แม่ฮ่องสอน22.24
312 พฤศจิกายนพ.ศ. 2481แบ่งเขต-916,310,1722,210,33235.05นครนายก67.36ตรัง16.28
46 มกราคมพ.ศ. 2489แบ่งเขต-966,431,8272,091,82732.52บุรีรัมย์54.65สุพรรณบุรี13.40
55 สิงหาคมพ.ศ. 2489แบ่งเขต-5,819,6622,026,82334.92สกลนคร57.49นราธิวาส16.62เลือกตั้งเพิ่มเติมตามจำนวนพลเมือง (รธน. 2489)
629 มกราคมพ.ศ. 2491รวมเขต-997,176,8912,177,46429.50ระนอง58.69สมุทรปราการ15.68
75 มิถุนายนพ.ศ. 2492รวมเขต-213,518,276870,20824.27สกลนคร45.12อุดรธานี12.02เลือกตั้งเพิ่มเติมตามจำนวนพลเมือง (รธน. 2492)
826 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2495รวมเขต-1237,602,5912,961,19138.95สระบุรี77.78พระนคร23.03
926 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2500รวมเขต6991609,859,0395,668,66657.50สระบุรี93.30
1015 ธันวาคมพ.ศ. 2500รวมเขต8131609,917,4174,370,78944.07ระนอง73.30อุดรธานี29.92
1110 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2512รวมเขต1,25321914,820,4007,289,83749.16ระนอง73.95พระนคร36.66
1226 มกราคมพ.ศ. 2518แบ่งเขต
รวมเขต
2,19926920,243,7919,549,92447.17ภูเก็ต67.87เพชรบูรณ์32.31
134 เมษายนพ.ศ. 2519แบ่งเขต
รวมเขต
2,36927920,623,4309,072,62943.69นครพนม63.53เพชรบูรณ์26.64
1422 เมษายนพ.ศ. 2522แบ่งเขต
รวมเขต
1,52330121,283,7909,344,04543.90ยโสธร77.11
1518 เมษายนพ.ศ. 2526แบ่งเขต
รวมเขต
1,88032424,224,47012,295,33950.76ยโสธร79.62
1627 กรกฎาคมพ.ศ. 2529แบ่งเขต
รวมเขต
3,61334726,224,47016,670,95761.43ชัยภูมิ85.15
1724 กรกฎาคมพ.ศ. 2531แบ่งเขต
รวมเขต
3,61235726,658,63816,944,93163.56ยโสธร90.42
1822 มีนาคมพ.ศ. 2535แบ่งเขต
รวมเขต
2,85136031,660,15619,622,32261.59มุกดาหาร87.11
1913 กันยายนพ.ศ. 2535แบ่งเขต
รวมเขต
2,41736031,660,15619,622,32261.59มุกดาหาร90.43
202 กรกฎาคมพ.ศ. 2538แบ่งเขต
รวมเขต
2,37239137,817,98323,462,74862.04มุกดาหาร83.80
2117 พฤศจิกายนพ.ศ. 2539แบ่งเขต
รวมเขต
2,31039538,564,83624,040,83662.42สระแก้ว87.71
226 มกราคมพ.ศ. 2544แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
2,276
940
400
100
42,759,00129,904,940
29,909,271
69.94
69.95
ลำพูน83.78
236 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2548แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
1,707
582
400
100
44,572,10132,337,611
32,341,330
72.55
72.56
ลำพูน86.56หนองคาย62.55
242 เมษายนพ.ศ. 2549แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
หมายเหตุ เนื่องจากพรรคไทยรักไทยได้ว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กในลงรับสมัครรับเลือกตั้งโดยที่คะแนนเสียงเลือกไม่ถึง 20% ตามคำพิพากษาในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 
และ พรรคไทยรักไทยโดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้งหมด 111 คน คนละ 5 ปี
2523 ธันวาคมพ.ศ. 2550แบ่งเขต
สัดส่วน
3,894
1,260
400
80
44,002,59332,775,868
32,792,246
74.49
74.52
263 กรกฎาคมพ.ศ. 2554แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
2,422
1,410
375
125
46,939,54935,220,377
35,220,208
75.03ลำพูน88.61หนองคาย68.59
272 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2557แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
หมายเหตุ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ กำหนดให้เลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภายในวันเดียวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย[7]
คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ถือว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ (หรือเสมือนไม่เคยเกิดขึ้น) แต่ถือว่าการเลือกตั้งได้เกิดขึ้นแล้ว 1 ครั้ง [8]
2824 มีนาคมพ.ศ. 2562แบ่งเขต
บัญชีรายชื่อ
350
150
51,239,63838,268,37574.69

สมาชิกวุฒิสภา[แก้]

ในรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2560 ความส่วนหนึ่งคือจะมีคณะสรรหาคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา 250 คนและจะต้องผ่านการลงมติเห็นชอบจากทางสภาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาจะมีเสียงในสภาโดยมีวาระ 5 ปี

ครั้งที่วันที่วิธีการเลือกตั้งจำนวน
ผู้สมัคร
จำนวน
ส.ว.
ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง
ผู้มาใช้สิทธิ
เลือกตั้ง
ร้อยละจังหวัดที่มีผู้ใช้
สิทธิมากที่สุด
ร้อยละจังหวัดที่มีผู้ใช้
สิทธิน้อยที่สุด
ร้อยละหมายเหตุ
14 มีนาคม พ.ศ. 2543แบ่งเขต-200
219 เมษายน พ.ศ. 2549แบ่งเขต1,477200
32 มีนาคม พ.ศ. 2551รวมเขต-76
4รวมเขต4687743,840,30518,634,86442.51